ไทย
Eng
หน้าแรก
รู้จักเรา
บทความ
ติดต่อเรา

language Language:
ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
3.การออมและลงทุน
4.เงินบริจาค
5.รายการพิเศษ

ค่าลดหย่อนลงทุนธุรกิจStartUp

หัวข้อ :

เงินที่ลงทุนในธุรกิจStartUp สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ โดยกฎหมายกำหนดให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน100,000บาท โดยต้องเป็นการลงทุนในธุรกิจStartupตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เท่านั้น

สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน

หลักฐาน

  • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยต้องมีการระบุชื่อผู้ถือหุ้น และวันที่ลงหุ้นหรือลงทุนหรือเพิ่มทุนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • หนังสือรับรองการจ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เงื่อนไข

การที่จะใช้สิทธิจากเงินลงทุนธุรกิจStartUp จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ

  • ต้องเป็นการลงทุนในธุรกิจStartupตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เท่านั้น
  • ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกัน นับแต่วันที่ลงทุนเว้นแต่ทุพพลภาพหรือตาย
  • ต้องลงทุนในเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย ที่จดทะเบียนจัดตั้งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการเป็นธุรกิจ Startup ที่ได้รับการรับรองจาก สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) แล้วว่าได้ประกอบกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  • ธุรกิจ Startup นั้นมีรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการของกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือรายได้เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันไม่น้อยกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด
  • ทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทใน รอบระยะเวลาบัญชีที่คุณลงทุนในธุรกิจ Startup นั้น

อุตสาหกรรมเป้าหมายของ สวทช.

กิจการ Startup ที่อยู่ในเกณฑ์ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้จะต้องอยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ สวทช. ดังนี้

  • อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
  • อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด
  • อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ
  • อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ
  • อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรืออุตสาหกรรมใหม่

แหล่งที่มา : มาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากร,กฎกระทรวง ฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2561), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2561