ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป▾
1.1ส่วนตัว
1.2คู่สมรส
1.3บุตร
1.4บิดามารดา
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ▾
2.1เงินสะสมประกันสังคม
2.2เบี้ยประกันชีวิต
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ
2.4เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.5เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
3.การออมและลงทุน▾
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
3.2กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
3.3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.4กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3.5กองทุนการออมแห่งชาติ
3.6เงินลงทุนธุรกิจStartup
4.เงินบริจาค▾
4.1เงินบริจาคทั่วไป
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬา/การพัฒนาสังคม
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง
5.รายการพิเศษ▾
ค่าลดหย่อนประกันบำนาญ
หัวข้อ :
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน15%ของรายได้ และต้องไม่เกิน200,000บาท และในกรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิประกันชีวิตแบบปกติ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตปกติได้เพิ่มอีก รวมเป็นสิทธิลดหย่อนสูงสุดทั้งหมด300,000บาท
สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน
หลักฐานที่ต้องใช้
- ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกัน
เงื่อนไข
การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้นั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- ต้องทำประกันชีวิตแบบบำนาญกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทย เท่านั้น
- ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่10ปี ขึ้นไป
- ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องบังคับให้เราจ่ายเบี้ยประกันเป็นรายงวดอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ(เพราะกฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้เก็บออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ)
- ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องมีการจ่ายคืนผลประโยชน์(เงินบำนาญ) ให้แก่ผู้ทำประกันหลังจากอายุ55ปีขึ้นไป(ห้ามมีการจ่ายปันผลหรือเงินคืนระหว่างทางก่อนอายุครบ55ปี)
เงื่อนไขเพิ่มเติม
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ไม่เกิน15%ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน200,000บาท และ เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนRMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข , กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน ฿500,000 ด้วย
- ในกรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในส่วนของค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบปกติ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตได้เพิ่มเติมอีก100,000บาท(รวมเป็นใช้สิทธิได้ทั้งหมดไม่เกิน15% สูงสุดไม่เกิน300,000บาท)
แหล่งที่มา : ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 261) พ.ศ. 2558, ข้อ 2(61) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)