ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป▾
1.1ส่วนตัว
1.2คู่สมรส
1.3บุตร
1.4บิดามารดา
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ▾
2.1เงินสะสมประกันสังคม
2.2เบี้ยประกันชีวิต
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ
2.4เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.5เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
3.การออมและลงทุน▾
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
3.2กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
3.3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.4กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3.5กองทุนการออมแห่งชาติ
3.6เงินลงทุนธุรกิจStartup
4.เงินบริจาค▾
4.1เงินบริจาคทั่วไป
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬา/การพัฒนาสังคม
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง
5.รายการพิเศษ▾
ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
หัวข้อ :
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา(ประกันสุขภาพพ่อแม่)ที่เราจ่ายไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยกำหนดให้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกินปีละ15,000บาทต่อผู้ยื่นภาษีหนึ่งคน
สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน
หลักฐาน
- ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันสุขภาพจากบริษัทประกัน
เงื่อนไข
การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับประกันสุขภาพพ่อแม่ได้นั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- เบี้ยประกันชีวิตของพ่อแม่ ไม่สามารถใช้สิทธิได้
- ให้สิทธิลดหย่อนประกันสุขภาพพ่อแม่ รวมกันไม่เกิน 15,000บาท ต่อผู้ยื่นภาษีหนึ่งราย(เบี้ยประกัน พ่อ+แม่ รวมกันต้องไม่เกิน15,000บาท)
- กรณีพี่น้องช่วยกันจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้พ่อแม่ ให้ทำการหารสิทธิ์คนละเท่าๆกัน โดยเมื่อรวมทุกคนแล้วต้องไม่เกิน15.000บาท เช่น จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ 40,000บาท ได้สิทธิลดหย่อนรวม15,000บาท พี่น้อง3คนช่วยกันจ่าย จึงได้สิทธิลดหย่อนเพียงคนละ5,000บาท
- ผู้ยื่นภาษี หรือ พ่อแม่ ต้องอยู่ในประเทศไทยเกิน180วันในปีภาษีนั้น
- พ่อแม่ต้องมีอายุมากกว่า60ปีขึ้นไป ในปีภาษีนั้น
- พ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน30,000บาทต่อคนต่อปี
- ต้องเป็นพ่อแม่ที่แท้จริงของเรา หรือ คู่สมรส เท่านั้น (พ่อแม่บุญธรรม ไม่มีสิทธิลดหย่อน)
- กรณีเป็นพ่อแม่ของคู่สมรส คู่สมรสของเราต้องไม่มีรายได้ ในปีภาษีนั้น
เงื่อนไขเพิ่มเติม
นิยามของประกันสุขภาพ กฎหมายระบุไว้ว่าจะต้องเป็นการคุ้มครองในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- คุ้มครองการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ
- ชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
- ประกันภัยอุบัติเหตุที่คุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- ประกันภัยโรคร้ายแรง
- ประกันภัยแบบดูแลระยะยาว (Long Term Care)
แหล่งที่มา : ข้อ 2(61) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ข้อ 1(4) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162)