Blog
language
ไทย
Eng
Home
About
Blog
Contact

language Language:
ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
3.การออมและลงทุน
4.เงินบริจาค
5.รายการพิเศษ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

หัวข้อ :

การซื้อหน่วยลงทุนในกองรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) นอกจากจะได้ประโยชน์ในแง่ของการลงทุนแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิในการนำค่าซื้อหน่วยลงทุนRMFมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน15%ของรายได้ และต้องไม่เกิน500,000บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กบข และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน

หลักฐาน

  • หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)

เงื่อนไข

การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากกองทุนRMF จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ

  • สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามที่ซื้อจริง สูงสุดไม่เกิน15%ของรายได้ และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กบข และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000บาท
  • ต้องซื้อRMFต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
  • การซื้อRMFจะซื้อเพียงกองเดียวหรือหลายกองก็ได้
  • การซื้อRMF ต้องซื้อไม่ต่ำกว่า3%ของเงินได้ และต้องไม่ต่ำกว่า5,000บาท
  • กรณีที่ปีนั้นไม่มีรายได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อหน่วยลงทุนRMF
  • ต้องถือหน่วยลงทุนRMFไว้ไม่น้อยกว่า5ปี และห้ามขายก่อนตนเองจะมีอายุครบ55ปี หรือ เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ

เงื่อนไขเพิ่มเติม

  • การขายคืนหน่วยลงทุนRMFก่อนครบ5ปี หรือก่อนมีอายุครบ55ปี ถือว่าผิดเงือนไขจะต้องถูกเรียกคืนสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่ได้ใช้ไปแล้ว พร้อมทั้งมีบทลงโทษในแง่ของเบี้ยปรับอีกด้วย
  • การขายคืนหน่วยลงทุนRMFก่อนครบ5ปี หรือก่อนมีอายุครบ55ปี หากมีกำไรจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ ตามเงินได้ประเภทที่ 8

แหล่งที่มา : ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 259) พ.ศ. 2558, ข้อ 2(55) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ข้อ 2(56) และ (65) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170 และ 171), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 258 และ 259) พ.ศ. 2558, คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)