ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป▾
1.1ส่วนตัว
1.2คู่สมรส
1.3บุตร
1.4บิดามารดา
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ▾
2.1เงินสะสมประกันสังคม
2.2เบี้ยประกันชีวิต
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ
2.4เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.5เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
3.การออมและลงทุน▾
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
3.2กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
3.3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.4กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3.5กองทุนการออมแห่งชาติ
3.6เงินลงทุนธุรกิจStartup
4.เงินบริจาค▾
4.1เงินบริจาคทั่วไป
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬา/การพัฒนาสังคม
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง
5.รายการพิเศษ▾
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ
หัวข้อ :
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพใช้เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมาได้ โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000บาท/ปี ต่อการผู้พิการหนึ่งคน
สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน
หลักฐานที่ต้องใช้
กรณีเป็นผู้พิการ
- หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04) และ
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการโดยต้องสำเนาส่วนที่แสดงว่าคุณเป็นผู้ดูแลคนพิการ
กรณีทุพพลภาพ
- หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04) และ
- หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04-1) และ
- ใบรับรองแพทย์เกี่ยวกับอาการทุพพลภาพ
เงื่อนไข
การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพได้นั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- ผู้ยื่นภาษี หรือ ผู้พิการ ต้องอยู่ในประเทศไทยเกิน180วันในปีภาษีนั้น
- ผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน30,000บาทต่อปี ภายในปีภาษีนั้นๆ
- ผู้ใช้สิทธิ์ต้องมีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ เท่านั้น
- สิทธิลดหย่อนผู้พิการไม่สามารถแบ่งครึ่ง หรือ ใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนได้(ผู้พิการ1คน สามารถให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง1ผู้ยื่นภาษีเท่านั้น)
เงื่อนไขเพิ่มเติม
- กรณีผู้พิการที่ท่านใช้สิทธิ เป็นคู่สมรส บุตร หรือพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ60,000บาท ไม่จำกัดจำนวน
- กรณีที่ผู้พิการที่ท่านใช้สิทธิ ไม่ใช่คู่สมรส บุตร หรือพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เพียงคนเดียวเท่านั้น
- ถ้าผู้พิการ เป็นคู่สมรส บุตร หรือพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนบุตร หรือ ลดหย่อนบิดามารดาได้ตามปกติ(เช่น บุตรเป็นผู้พิการ จะได้สิทธิลดหย่อนบุตร30,000บาท และ ลดหย่อนผู้พิการอีก60,000บาท รวมเป็น90,000บาท)
แหล่งที่มา : มาตรา 47(1)(ฎ) ประมวลรัษฎากร