ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป▾
1.1ส่วนตัว
1.2คู่สมรส
1.3บุตร
1.4บิดามารดา
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ▾
2.1เงินสะสมประกันสังคม
2.2เบี้ยประกันชีวิต
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ
2.4เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.5เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
3.การออมและลงทุน▾
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
3.2กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
3.3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.4กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3.5กองทุนการออมแห่งชาติ
3.6เงินลงทุนธุรกิจStartup
4.เงินบริจาค▾
4.1เงินบริจาคทั่วไป
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬา/การพัฒนาสังคม
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง
5.รายการพิเศษ▾
ค่าลดหย่อนฝากครรภ์-คลอดบุตร
หัวข้อ :
ค่าลดหย่อนจากค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ และค่าใช้จ่ายในการทำคลอด โดยกฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน60,000บาทต่อการตั้งครรภ์บุตร1ครั้ง
โดยกฎหมายไม่มีการจำกัดจำนวนการตั้งครรภ์สูงสุดต่อปี อย่างไรก็ตามหากเป็นการตั้งครรภ์ลูกแฝด กฎหมายยังคงถือว่าเป็นการตั้งครรภ์เพียงครั้งเดียว จึงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เพียง60,000บาท/การตั้งครรภ์เท่านั้น
สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน
หลักฐาน
- ใบเสร็จหรือหลักฐานการจ่ายเงินค่าฝากครรภ์และค่าทำคลอดบุตรให้สถานพยาบาล
- ใบรับรองแพทย์ซึ่งได้ตรวจและแสดงความเห็นว่ามีภาวะตั้งครรภ์
เงื่อนไข
การที่จะใช้สิทธิจากค่าใช้จ่ายการฝากครรภ์และการคลอดบุตร จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- ค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนจะเป็นค่าใช้จ่ายจากโรงพยาบาลของรัฐ หรือ เอกชนก็ได้
- กรณีที่ยื่นภาษีรวมกันระหว่างสามีและภรรยา สิทธิในการลดหย่อนจะอยู่กับผู้ที่ยื่นภาษี
- กรณีแยกยื่นภาษีสิทธิการลดหย่อนจะอยู่ที่ภรรยาคนเดียว
- กรณีที่ตั้งครรภ์หลายครั้งในปีเดียวกันสามารถใช้สิทธิได้ ครั้งละไม่เกิน60,000บาท/การตั้งครรภ์
- กรณีตั้งครรภ์และคลอดบุตรคนละปีภาษี สามารถใช้สิทธิรวมกันทั้งสองปีภาษีได้ไม่เกิน60,000บาท/การตั้งครรภ์
- กรณีเบิกค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการต่างๆ เช่น ประกันสังคม,บัตรทอง,สวัสดิการข้าราชการ สิทธิการลดหย่อนภาษีจะถูกหักจากค่าใช้จ่ายที่เบิกจากสวัสดิการ เช่นกรณีเบิกประกันสังคม30,000 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนการตั้งครรภ์ได้สูงสุดอีกแค่30,000บาท เท่านั้น
แหล่งที่มา : มาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากร,ข้อ 2(99) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561