ค่าลดหย่อนภาษี
หัวข้อ :
ค่าลดหย่อนภาษี คือ สิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้สิทธิผู้เสียภาษีสามารถนำรายจ่ายด้านต่างๆที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร สามารถนำรายจ่ายต่างๆเหล่านั้นมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนภาษี
โดยค่าลดหย่อนภาษีจะไม่ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มารายได้ของผู้เสียภาษีเหมือนกับค่าใช้จ่าย แต่จะเป็นรายจ่ายอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ เช่น การทำประกันชีวิต การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี เป็นต้น
ค่าลดหย่อนภาษี นอกจากจะถูกตราไว้ในประมวลรัษฎากรแล้ว ยังถูกตราไว้ในกฎหมายลูกอื่นๆ เช่น กฎกระทรวง ประกาศอธิบดี ซึ่งจะมีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม รายการต่างๆที่ให้สิทธิในการลดหย่อน รวมถึงการกำหนดเงื่อนไข ข้อบังคับต่างๆ ซึ่งผู้วางแผนภาษีควรมีการศึกษา อัพเดตความรู้ทางภาษีอย่างต่อเนื่อง
โดยทีมงานAllfinnได้ทำการรวบรวม และจัดหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ หากท่านมีข้อสงสัยหรือประสงค์จะใช้บริการสามารถติตต่อทีมงานของเราเพื่อให้คำแนะนำด้านการวางแผนภาษีแก่ท่านได้ครับ
สรุปค่าลดหย่อน
รายการ | ค่าลดหย่อน | เงื่อนไข | |
---|---|---|---|
1 | ทั่วไป | ||
1.1ส่วนตัว | 60,000บาท | - | |
1.2คู่สมรส | 60,000บาท | คู่สมรสต้องไม่มีรายได้ | |
1.3บุตร | -30,000บาท/คน -60,000บาท/คน (บุตรคนที่สองเป็นต้นไป และเกิดหลัง พศ.2560) |
บุตรอายุไม่เกิน25ปี/ และกำลังศึกษาอยู่ |
|
1.4บิดามารดา | 30,000บาท/คน | อายุ60ปีขึ้นไป | |
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร | ตามจริง/ไม่เกิน60,000บาทต่อครรภ์ | กรณีใช้สิทธิสวัสดิการ สิทธิลดหย่อน จะถูกหักจากค่าใช้จ่ายที่เบิกสวัสดิการ |
|
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ | 60,000บาท/คน | ผู้พิการต้องไม่มีรายได้ | |
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย | ตามจริง/ไม่เกิน 100,000บาท |
ต้องกู้กับสถาบันการเงินเท่านั้น | |
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ | 190,000บาท | -ผู้สูงอายุต้องมีอายุ65ปีขึ้นไป -ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ |
|
2 | ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ | ||
2.1เงินสะสมประกันสังคม | ตามจริง/ไม่เกิน 9,000บาท |
เฉพาะส่วนเงินสะสมเท่านั้น | |
2.2เบี้ยประกันชีวิต | ตามจริง/ไม่เกิน 100,000บาท |
กรมธรรม์อายุ10ปีขึ้นไป | |
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ | ตามจริง/ไม่เกิน 15,000บาท |
รวมเบี้ยประกันชีวิตไม่เกิน100,000บาท | |
2.4เบี้ยประกันชีวิต แบบบำนาญ |
ตามจริง/ไม่เกิน15% หรือ300,000บาท |
-ไม่เกิน15%ของรายได้หรือ200,000บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่า) -รวมประกันชีวิตต้องไม่เกิน300,000บาท -รวมข้อ3.2ต้องไม่เกิน500,000บาท |
|
2.5เบี้ยประกันสุขภาพ บิดามารดา |
ตามจริง/รวมกัน ไม่เกิน15,000บาท |
-เฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพ -พ่อแม่มีรายได้สุทธิไม่เกิน30,000บาท/ปี |
|
3 | การออมและลงทุน | ||
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF) | ตามจริง/ไม่เกิน30% | -ไม่เกิน30%ของรายได้ -สูงสุดไม่เกิน200,000บาท |
|
3.2กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ RMF/กบข |
ตามจริง/ไม่เกิน15% | -รวมทุกรายการไม่เกิน15%ของรายได้ -สูงสุดไม่เกิน500,000บาท |
|
3.3กองทุนการออมแห่งชาติ | ตามจริง/ไม่เกิน 13,200บาท |
รวมประกันบำนาญ+ข้อ3.2 ต้องไม่เกิน500,000บาท |
|
3.4เงินลงทุนธุรกิจStartup | ตามจริง/ไม่เกิน 100,000บาท |
-ต้องเป็นธุรกิจเป้าหมายของ สวทช. -ต้องเป็นธุรกิจSME |
|
4 | เงินบริจาค | ||
4.1เงินบริจาคทั่วไป | ตามจริง/ไม่เกิน10% | ไม่เกิน10%ของรายได้ หลังหักค่าลดหย่อน |
|
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/ โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬาการพัฒนาสังคม |
2เท่า/ไม่เกิน10% | ไม่เกิน10%ของรายได้ หลังหักค่าลดหย่อน |
|
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง | ตามจริง/ไม่เกิน 10,000บาท |
||
5 | รายการพิเศษ | 5.1ช้อปช่วยชาติ | ตามจริง/ไม่เกิน 15,000บาท |
-ซื้อ15ธ.ค.2561-15ม.ค.2562 -เฉพาะยางรถ,หนังสือ,OTOP |
แหล่งที่มา : กรมสรรพากร