Blog
language
ไทย
Eng
Home
About
Blog
Contact

language Language:

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย ประจำเดือนกันยายน2562 : “Expect nothing, never be disappointed”

04 กันยายน 2562, 15.40น   440 views

Key Takeaways :

ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่ยังคงรุนแรง นอกจากนั้นตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส2ยังออกมาน่าผิดหวัง มองว่าหุ้นไทยมีโอกาสหลุด 1600 จุด
Set Index ปรับตัวลดลง -3.3%ในเดือนสิงหาคม

ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนสิงหาคม2562 Set Indexปรับตัวลดลงจากระดับ 1,711.97 จุด มาปิดที่ 1,654.92 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลง -3.3% โดยได้รับปัจจัยกดดันภายนอกจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับแรงกดดันภายในประเทศ จากตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศที่ออกมาแย่กว่าคาดการณ์ อย่างไรก็ตามมีแรงหนุนจากการลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจของธนาคารกลางประเทศต่างๆ

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +4.5% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ +1.1% และกลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร -1.3% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง -15.2% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -10.8% และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ -8.3% โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ 54,274 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 35,596 ล้านบาท

สงครามการค้ายังรุนแรงต่อเนื่อง

สหรัฐสั่งเพิ่มภาษีจากจีนอีก 3แสนล้านเหรียญ จีนสวนหมัดเพิ่มภาษีคืน 7.5หมื่นล้านเหรียญ

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประธานาธิบดีโดนัลล์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ สั่งขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญ ในอัตรา 15% โดยแบ่งเป็น2ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่หนึ่ง มูลค่า1.3 แสนล้านเหรียญ มีผลบังคับในวันที่ 1 กันยายน 2562
  • ส่วนที่สอง มูลค่า1.6 แสนล้านเหรียญ มีผลบังคับในวันที่ 15 ธันวาคม 2562

ในขณะที่ทางจีนได้ออกมาตราการตอบโต้ ด้วยการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯมูลค่า 7.5 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ในอัตรา 5 – 10% โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน มีผลบังคับในวันที่ 1 กันยายน และ 15 ธันวาคม เช่นเดียวกัน

ธนาคารกลางฯรับบทหนัก

แบงค์ชาติทั่วโลกพร้อมใจปรับลดดอกเบี้ย เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางในหลายประเทศต้องรับบทบาทในการช่วยพยุงเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากในวันที่ 31 กรกฎาคม 2019 ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.0 - 2.25% ส่วนประเทศจีนนั้นธนาคารกลางจีน(PBOC)ผ่อนคลายนโยบายการเงินเช่นกัน โดยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงจาก 4.35% ลงเหลือ 4.25% ในฝั่งยุโรปรัฐบาลเยอรมันมีการประกาศพร้อมใช้วงเงิน 55 พันล้านยูโรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

สำหรับประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยที่อยู่เหนือความคาดหมาย ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 1.5%

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส2ออกมาน่าผิดหวัง

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส2ออกมาน่าผิดหวัง

ในวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา สภาพัฒน์ฯได้มีการประกาศตัวเลขGDPในไตรมาส 2 ของไทย มีการเติบโตเพียง 2.3% ชะลอตัวลงจากไตรมาส 1 ที่เติบโต 2.8% คิดเป็นอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่ 2.6% โดยภาคการส่งออกสินค้าและบริการหดตัว -6.1% จากปีที่แล้ว ผลผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรหดตัว

ส่วนการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แม้จะยังเติบโตเป็นบวก แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว ทำให้สภาพัฒน์ฯปรับลดประมาณการการเติบโตของจีดีพีลงอีกครั้ง จาก 3.3 - 3.8% มาอยู่ที่ 2.7 - 3.2%

ความเห็น

Trumpยิงนก(ทวิต)ทีเดียว ได้นกสองตัว

ทางAllfinnมองว่าการทวิตเพื่อปลุกประเด็นสงครามการค้าผ่านทางTwitter ของประธานาธิบดีสหรัฐฯเป็นกลยุทธ์การเจรจาในแบบฉบับของนายDonald Trump ซึีงหวังผลถึงสองทางพร้อมกัน คือ

  • ผลทางการเมืองซึ่งอเมริกาจะมีการเลือกตั้งในแต่ละรัฐ ในวันที่ 5 พ.ย. ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่ในช่วงปี2020 การแสดงจุดยืนในการเจรจาที่แข็งกร้าว เป็นการตอกย้ำนโยบาย "American First"ของนายDonald Trump ซึ่งจะมีผลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามา
  • ผลต่อการกดดันให้FEDมีการลดดอกเบี้ยแบบรุนแรงกว่านี้ โดยก่อนหน้านี้มีข่าวถึงเรื่องที่Trumpพยายามเสนอให้ปลดนายJerome powellออกจากตำแหน่งประธานFED เพราะไม่ได้มีการตอบสนองต่อนโยบายของนายDonald Trumpที่ต้องการให้FEDลดดอกเบี้ยแบบAggressiveมากกว่านี้ การที่Trumpเปิดศึกขึ้นภาษีกับจีนอีกระลอก ย่อมเป็นแรงกดดันให้Fedต้องพิจารณาลดดอกเบี้ยตามแนวทางที่Trumpต้องการ
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Geopolitics)
ความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง

ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Geopolitics) เป็นประเด็นความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งของสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-จีน , สงครามการค้าระหว่างเกาหลี-ญี่ปุ่น , การออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ(Brexit) และ การประท้วงในฮ่องกง(จีน-ฮ่องกง)

ความคาดหวังที่สูงต่อธนาคารกลางฯในการลดดอกเบี้ย
อาจนำมาซึ่งความผิดหวัง

จากผลของสงครามการค้าและความไม่แน่นอนในการเมืองโลก ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางประเทศต่างๆ

  • การประชุมECB ในวันที่12กันยายน ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจาก -0.4% มาเป็น -0.5%ในเดือนกันยายน รวมถึงอาจมีมาตราการQEรอบใหม่
  • การประชุมFED ในวันที่17-18กันยายน ตลาดคาดการณ์ว่าะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 2.00-2.25% มาเป็น 1.75%-2.00%
  • การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ตลาดคาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่มีการออกมาตรการผ่อนคลายอื่นๆ

ในมุมมองของAllfinn ความคาดหวังที่สูงของนักลงทุนต่อธนาคารกลางทั่วโลก หากเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดหวัง ตลาดอาจตอบรับในเชิงบวกไม่มากนัก แต่ถ้าธนาคารกลางประเทศต่างๆไม่มีการออกนโยบาลตามที่นักลงทุนคาดหวัง ย่อมส่งผลให้ตลาดเข้าสู่ภาวะหดตัวอย่างรุนแรงได้

มองว่าตลาดมีโอกาสปรับตัวหลุด1600จุด ในระยะ2-3เดือน
รอสัญญาณเข้าสะสม

สำหรับคำแนะนำประจำเดือนกันยายน Allfinnมองว่าตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หลังจากมีการปรับตัวลงรุนแรงกว่า130จุด ในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามก็ปรับตัวขึ้นนี้ไม่น่าเกินระดับ1680จุด จากนั้นตลาดมีโอกาสหลุด1600จุดได้ในระยะ2-3เดือนข้างหน้า ซึ่งหลังจากที่เราได้แนะนำให้นักลงทุนขายปรับพอร์ตไปแล้วในช่วง1700จุด ทางเราแนะนำนำให้นักลงทุน "เตรียมกระสุน" ให้พร้อมเสมอ เมื่อตลาดอยู่ในจุดที่น่าสนใจในเชิงพื้นฐาน ทางเราจะแนะนำให้นักลงทุนทยอยเข้าสะสมอีกครั้ง

หมวดหมู่ : Monthly Report

บทความแนะนำ

Feel free to chat with us!

 
Add us as a friend

Line : @allfinn