กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย ประจำเดือนสิงหาคม2562 : Geopolitical risk
Key Takeaways :
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Geopolitics) ทั้งสหรัฐ-จีน,เกาหลี-ญี่ปุ่น,จีน-ฮ่องกง และ Brexit เป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตามองSet Index ปรับตัวลดลง -1.1%ในเดือนกรกฎาคม
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนกรกฎาคม2562 Set Indexปรับตัวลดลงจากระดับ 1730.34 จุด มาปิดที่ 1711.97 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลง -1.1% โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการลดดอกเบี้ยของเฟดที่อาจจะน้อยกว่าที่คาด , ความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน สงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลี และความเสี่ยงของ Brexit
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ได้แก่ กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ +6.5% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ +4.8% และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +1.9% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -12.9% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -7.7% และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง -4.6% โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ 20,054 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 26,565 ล้านบาท
FEDลดดอกเบี้ยนโยบายน้อยกว่าที่ตลาดคาด
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%
ในวันที่31กรกฎาคม2562 ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)มีมติ8 ต่อ 2 เสียงให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาสู่ระดับ2.0-2.25% ซึ่งถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 2551 โดยนายJerome powellระบุว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นมาตรการเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐ ให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และต้องการกระตุ้นเงินเฟ้อ พร้อมกับป้องกันเศรษฐกิจสหรัฐจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับประเทศคู่ค้า
อย่างไรก็ตามยังไม่ปรากฎสัญญาณใดๆ จากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่บ่งชี้ถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยรอบต่อไป สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนและตลาดการเงินทั่วโลกที่รอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นท่าทีที่ผ่อนคลายมากกว่านี้จากเฟดส่งผลให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก(Sell On fact)
สหรัฐ-จีนเปิดสงครามการค้ากันอีกระลอก
สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10%
ขณะที่จีนกดค่าหยวนทะลุ7หยวนต่อดอลลาร์
ในช่วงคืนวันที่1สิงหาคม2562 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ได้ทวีตข้อความระบุว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 10% จากสินค้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนเป็นต้นไป โดยเขาระบุว่าจีนไม่ยอมทำตามสัญญาในการซื้อสินค้าเกษตรจำนวนมากจากสหรัฐ
ขณะที่จีนตอบโต้สงครามการค้าสหรัฐฯด้วยการลดค่าเงินหยวนลงมาที่ระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดหนักจากความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก อย่างไรก็ตามในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ทางการจีนได้ประกาศตรึงค่าเงินหยวน ทำให้เงินหยวนที่อ่อนค่าอย่างรุนแรงเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น
เกาหลี-ญี่ปุ่นคู่ชกคู่ใหม่ที่ต้องจับตา
จากความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์
สู่สงครามการค้าของเกาหลี-ญี่ปุ่น?
โดยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2562 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศลดปริมาณการส่งออกสารเคมี 3 ชนิด ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิตชิป และ ผลิตหน้าจอโทรศัพท์ ซึ่งเศรษฐกิจของเกาหลีใต้นั้นแขวนอยู่กับการขายอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์
ขณะที่ประชาชนชาวเกาหลีใต้ ไม่พอใจกับท่าทีของญี่ปุ่น จึงประกาศแบนสินค้าญี่ปุ่นที่วางขายในเกาหลี มีการทำแคมเปญรณรงค์ “No Selling – No Buying” ไม่ซื้อไม่ขาย สินค้าทุกอย่างของญี่ปุ่น
ความเห็น
Trumpยิงนก(ทวิต)ทีเดียว ได้นกสองตัว
สำหรับประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ รอบล่าสุด โดยTrumpใช้ข้ออ้างที่จีนเคยบอกว่า "จะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐจำนวนมาก รวมถึงจะหยุดส่งออก Fentanyl (เฟนทานิล) หรือยาระงับปวดประสิทธิภาพสูงซึ่งสกัดมาจากฝิ่น มาที่สหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะตกลงกันมากว่า 3 เดือนแล้ว แต่เรื่องเหล่านี้กลับยังไม่เกิดขึ้น.."
ทางAllfinnมองว่าประเด็นดังกล่าวเป็นกลยุทธ์การเจรจาในแบบฉบับของนายDonald Trump ซึีงหวังผลถึงสองทางพร้อมกัน คือ
- ผลทางการเมืองซึ่งอเมริกาจะมีการเลือกตั้งในแต่ละรัฐ ในวันที่ 5 พ.ย. ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่ในช่วงปี2020 การแสดงจุดยืนในการเจรจาที่แข็งกร้าว เป็นการตอกย้ำนโยบาย "American First"ของนายDonald Trump ซึ่งจะมีผลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามา
- ผลต่อการกดดันให้FEDมีการลดดอกเบี้ยแบบรุนแรงกว่านี้ โดยก่อนหน้านี้มีข่าวถึงเรื่องที่Trumpพยายามเสนอให้ปลดนายJerome powellออกจากตำแหน่งประธานFED เพราะไม่ได้มีการตอบสนองต่อนโยบายของนายDonald Trumpที่ต้องการให้FEDลดดอกเบี้ยแบบAggressiveมากกว่านี้ การที่Trumpเปิดศึกขึ้นภาษีกับจีนอีกระลอก ย่อมเป็นแรงกดดันให้Fedต้องพิจารณาลดดอกเบี้ยตามแนวทางที่Trumpต้องการ
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Geopolitics)
ความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง
ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ(Geopolitics) เป็นประเด็นความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งของสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจอย่างสหรัฐ-จีน , สงครามการค้าระหว่างเกาหลี-ญี่ปุ่น , การออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ(Brexit) และ การประท้วงในฮ่องกง(จีน-ฮ่องกง)
รอลุ้นมาตรการLTF ในชื่อใหม่กองทุนFETCO?
สำหรับปัจจัยในประเทศที่ต้องจับตาที่สุด ก็คือประเด็นมาตรลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุนLTF ที่จะหมดอายุในช่วงสิ้นปี2562 โดยล่าสุดสภาธุรกิจตลาดทุน(FETCO) เตรียมที่จะยื่นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนระยะยาวแบบใหม่ในช่วงต้น ส.ค. เพื่อมาทดแทนการลงทุน LTF ในปัจจุบันที่จะหมดอายุในปีนี้ ซึ่งรมว.คลังนายอุตตมได้ให้สัมภาษณ์ว่าขอเวลาหารือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจะพิจารณาทั้งในแง่ของประโยชน์ และความจำเป็นต่อภาครัฐและประชาชน
ทั้งนี้Allfinn ยังคงเชื่อว่ารัฐบาลจะยังคงสนับสนุนให้มีกองทุนสำหรับให้ประชาชนได้ออมในระยะยาว แต่จะออกมาในรูปแบบใด ระหว่างการต่อมาตรการLTF หรือการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบตามที่FETCOเสนอ ต้องติดตามต่อไป
มองว่าตลาดมีโอกาสปรับตัวหลุด1600จุด รอสัญญาณเข้าสะสม
สำหรับคำแนะนำประจำเดือนสิงหาคม Allfinnมองว่าตลาดมีโอกาสปรับตัวลงต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนสิงหาคม โดยมีโอกาสหลุด1600จุด ซึ่งหลังจากที่เราได้แนะนำให้นักลงทุนขายปรับพอร์ตไปแล้วในช่วง1700จุด ทางเราแนะนำนำให้นักลงทุน "เตรียมกระสุน" ให้พร้อมเสมอ เมื่อตลาดอยู่ในจุดที่น่าสนใจในเชิงพื้นฐาน ทางเราจะแนะนำให้นักลงทุนทยอยเข้าสะสมอีกครั้ง