Blog
language
ไทย
Eng
Home
About
Blog
Contact

language Language:

5ข้อต้องรู้! “กองทุนSSF”(มีคลิป)

05 ธันวาคม 2562, 03.15น   493 views

คลิปนี้ผมจะมาเล่าถึง "กองทุนSSF" กองทุนใหม่ที่จะมาแทนที่กองทุนLTFในปีหน้า โดยจะตอบคำถามสำคัญที่หลายคนสงสัยก็คือ

  • กองทุนSSF ดีกว่า หรือ ห่วยกว่ากองทุนLTFเดิม?
  • ระยะเวลาถือครองกองทุนSSF ขั้นต่ำ?
  • จำนวนเงินที่สามารถซื้อกองทุนSSFได้สูงสุดในแต่ละปี?
  • สิทธิลดหย่อนภาษีของกองทุนSSF?
  • กองทุนSSF ในตลาดหน้าตาจะเป็นอย่างไร จะลงทุนในสินทรัพย์ไหนบ้าง?

กองทุนSuper Saving Fund

กองทุนรวมเพื่อการออม

"กองทุน SSF" ย่อมาจากคำว่า กองทุน Super Saving fund ชื่อภาษาไทยก็คือ "กองทุนรวมเพื่อการออม"

ความเหมือนของกองทุนSSF เทียบกับ กองทุนLTF

กองทุนSSF จะไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีการซื้อต่อเนื่อง

กองทุนSSFจะมีความเหมือนกันกับกองทุนLTFเดิม แค่เรื่องเดียวก็คือ กองทุนSSF จะไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีการซื้อต่อเนื่อง พูดง่ายๆเราซื้อปีนี้แล้วก็ทำปีหน้าเราไม่อยากจะซื้อก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ ซึ่งก็จะคล้ายกับตัวกองทุน LTF

ข้อดีของกองทุนSSF

กองทุนSSF สามารถที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดก็ได้

กองทุนSSF สามารถที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดก็ได้ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขบังคับ ซึ่งจะแตกต่างจากกองทุนLTFเดิม ที่บังคับให้ บลจ.ต้องลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65%

ดังนั้นกองทุนSSF เนี่ยผู้จัดการกองทุนสามารถที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • หุ้น
  • ตราสารหนี้
  • สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน,ทองคำ
  • หุ้นต่างประเทศ เช่น หุ้นอเมริกา,หุ้นจีน,หุ้นอินเดีย

ดังนั้นข้อดีของกองทุนSSF คือสามารถที่จะตอบโจทย์ผู้ลงทุนได้มากกว่า และสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่ากองทุนLTF เดิม

ข้อเสียข้อแรกของกองทุนSSF

กองทุนSSF บังคับให้ถือขั้นต่ำ10ปีเต็ม

กองทุนSSF จะบังคับให้ถืออย่างน้อยเนี่ยขั้นต่ำก็คือ 10 ปีเต็ม สมมติว่า

  • ซื้อกองทุนSSF ครั้งแรกในวันที่ 30 ธันวาคม 2562
  • จะสามารถขายได้ในวันที่ 1 มกราคม 2573
  • สรุปคือต้องถืออย่างน้อย 10ปีเต็มๆ

หากเปรียบเทียบกับกองทุน LTFเดิมจะบังคับให้ถือขั้นต่ำเพียง 7 ปีปฏิทิน สมมุติว่า

  • ซื้อกองทุนSSF ครั้งแรกในวันที่ 30 ธันวาคม 2562
  • จะสามารถขายได้ในวันที่ 2 มกราคม 2568
  • สรุปคือต้องถืออย่างน้อย 5ปี 3วัน เต็มๆ

พูดง่ายๆถ้าเกิดว่าเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่เริ่มซื้อกองทุนSSFตอนอายุ 22 เริ่มทำงานใหม่ๆ กว่าจะสามารถขายได้ก็คือแต่งงานแล้ว จนอาจจะลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าคุณมีกองทุนSSFอยู่ คือมันนานมากจริงๆ

ข้อเสียข้อที่สองของกองทุนSSF

ซื้อSSF+RMFได้สูงสุดไม่เกิน500,000บาท/ปี

กองทุนSSF สามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000บาท โดยมีเงื่อนไขว่าถ้ารวมกับกฃุ่มกองทุนเกษียณอายุต่างๆ (เช่น กองทุนRMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข), กองทุนการออมแห่งชาติ(กอช) , ประกันบำนาญ) จะซื้อได้รวมกันสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทในแต่ละปี

LTFสามารถซื้อได้มากกว่า และเมื่อรวมRMF จะได้สูงสุดถึง1,000,000บาทต่อปี

หากเปรียบเทียบกับกองทุนLTF เดิมกองทุน จะสามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000บาท แต่ทั้งนี้กองทุนLTFจะไม่รวม กองทุนRMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข), กองทุนการออมแห่งชาติ(กอช) และประกันบำนาญ ดังนั้นสำหรับคนที่มีรายได้สูงก็สามารถซื้อได้เต็มที่สูงสุดก็คือไม่เกิน 1 ล้านบาท

ไม่ดึงดูดทั้งกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ และลดสิทธิกลุ่มผู้มีรายได้สูง

หากพิจารณาว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประเทศสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจำเป็นจำต้องส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาว แต่เงื่อนไขของกองทุนSSFที่ออกมา ไม่สามารถดึงดูดได้ทั้งกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ เพราะบังคับให้ถือนานถึง10ปีเต็ม หรือ หากพิจารณาถึงกลุ่มผู้มีรายได้สูง ก็ถูกตัดลดสิทธิในการซื้อสูงสุดลงมาเหลือแค่สูงสุดไม่เกิน500,000บาท เมื่อรวมกับกลุ่มRMF นี่จึงเป็นเหตุผลที่ให้กองทุน SSF แย่กว่ากองทุนLTFเดิม

หมวดหมู่ : Knowledge

บทความแนะนำ

Feel free to chat with us!

 
Add us as a friend

Line : @allfinn