Market update : วิกฤตการณ์ค่าเงินตุรกี
Key Takeaways :
สหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตรตุรกี พร้อมทั้งขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลัก ส่งผลให้ค่าเงินลีร่าของตุรกี ร่วงอย่างรุนแรงกว่า40%ฐานะการเงินที่อ่อนแอเป็นทุนเดิม
ประเทศตุรกีเอง มีปัญหาเรื่องฐานะทางการเงินของประเทศอยู่แล้ว คือ หนี้สูง-เงินเฟ้อสูง-ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เรียกว่าการเงินอ่อนแอเป็นทุนเดิม พอมาเจอสหรัฐฯเล่นงานด้วยเรื่องให้ตุรกีปล่อยตัวบาทหลวงแอนดรูว์ บรุนสันซึ่งถูกทางการตุรกีควบคุมตัวในข้อหาให้การสนับสนุนการก่อรัฐประหารในปี 2559 ซึ่งทางตุรกีไม่ยอม จุดเริ่มของวิกฤตการณ์จึงเริ่มขึ้น เมื่อ 1 ส.ค. ที่สหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตรต่อรัฐมนตรีมหาดไทยและยุติธรรมของตุรกี
สหรัฐประกาศมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า
ประธานาธิบดีหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก อลูมิเนียมจากตุรกี
มีการเจรจาไปในช่วงต้นสัปดาห์ก่อน แต่ก็ไม่เป็นผล เย็นวันศุกร์ (10 ส.ค.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก อลูมิเนียมจากตุรกี โดยอัตราภาษีต่อเหล็กนำเข้าจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่ที่ 20% ผลที่เกิดขึ้น
- กระทบต่อเศรษฐกิจตุรกีให้ลบมากขึ้น
- ความกังวลต่อฐานะทางการเงินหรือเศรษฐกิจตุรกี ส่งผลต่อค่าเงินลีร่า (lira) ของตุรกี ร่วงลงอย่างรุนแรงจากต้นเดือน ส.ค.18 ถึงวันที่ 10 ส.ค. กว่า 40% หรือ ไป peak ที่ 7.2 ลีร่า/ดอลล่าร์
- ด้วยค่าเงินที่ร่วงลงอย่างรุนแรง ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของตุรกีในทันที โดยหนี้สกุลเงินต่างประเทศที่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของสินทรัพย์ในภาคธนาคารของตุรกี ผู้ถูกกระทบคือบรรดาธนาคารเจ้าหนี้ในกลุ่มอียู
ความเห็น
เรามองว่าผลกระทบดังกล่าวจะมีอย่างจำกัด
ผลกระทบหลักจะมีต่อกลุ่มธนาคารที่อยู่ในยุโรป เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้หลักของตุรกี ในเชิงsentimentจะส่งผลต่อค่าเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่(รวมถึงไทย)เกิดการอ่อนค่า อย่างไรก็ตามเรามองว่าผลกระทบดังกล่าวจะมีอย่างจำกัด
ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนกองทุนต่างประเทศ แนะนำนักลงทุนลดพอร์ตในกองทุนที่ลงทุนในยุโรป เพื่อรอดูสถานการณ์สำหรับตลาดหุ้นไทยเรามองว่าผลกระทบดังกล่าวมีผลเพียงเล็กน้อยการปรับตัวลงมา ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ